Hadyai Internet R&D LAB

ผลงานของ Hadyai Internet R&D LAB => คุยกับทีมวิจัย => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2017, 04:10:50

หัวข้อ: ขั้นตอนการติดตั้ง Mikrotik ลงบน Network Server สำหรับใช้งานในร้าน NetCafe
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2017, 04:10:50
- ขั้นตอนการติดตั้ง Mikrotik ลงบน Network Server
- วิธีการ config เบื้องต้นสำหรับเชื่อมต่อ Internet แบบ pppoe/static/dhcp
- ขั้นตอนการลงทะเบียน Mikrotik เพื่อใช้งาน Demo license
- ขั้นตอนการทำ โหลดบาลานซ์และ fail-over
- ขั้นตอนการทำ forward port และ loopback nat
- ขั้นตอนการแบ่งกลุ่มข้อมูล และกำหนดเส้นทางให้แต่ละกลุ่ม
- วิธีการตรวจสอบการทำงานและตรวจเช็คความถูกต้อง
- วิธีการดูแลรักษาและการตรวจเช็คความเร็วอินเตอร์เน็ตแต่ละเส้น

อื่น ๆ

ขั้นตอนการติดตั้ง Mikrotik ลงบน Network Server ให้ทำดังนี้

(http://dx.lnwfile.com/vctfsj.png)

สิ่งที่ต้องเตรียม
- PC หรือ notebook 1 เครื่องติดตั้ง Windows XP
- โปรแกรม Netinstall (โหลดจาก web mikrotik)
- โปรแกรม RouterOS แบบ extra-package (โหลดจาก web mikrotik)
- อุปกรณ์ Network Server ที่จะทำการติดตั้ง

สำหรับที่ตัว PC ให้ทำการเปิดโปรแกรม Netinstall ขึ้นมา

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall1.png)

ทำการ config  netbooting โดยติ๊ก boot server enabled แล้วใส่ IP ที่จะทำการแจกให้กับ Network Server เพื่อติดตั้ง
(เป็น ip ที่ว่างและวงเดียวกับตัว PC)  ตัวอย่าง PC เป็น IP 192.168.0.1/24  กำหนด Client ip เป็น 192.168.0.2

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall2.png)

ต่อไปที่ตัวอุปกรณ์ Network Server ทำการตั้งค่า BIOS เพื่อให้บูตผ่านแลน โดยทำดังนี้

กดปุ่ม del เพื่อทำการเข้า BIOS

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp1.jpg)

ไปที่เมนู Chipset เลือก North Bridge Configuration

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp2.jpg)

ทำการ Enable   LAN PXE Option ROM

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp3.jpg)

เสร็จแล้วก็เซฟ แล้วก็บูตใหม่  ให้กด F11 เพื่อทำการเลือกบูต

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp4.jpg)

ทำการต่อสายแลนเข้ากับตัว PC โดย Port 1 จะเป็น Slot 0200   Port 2 จะเป็น Slot 0300  ตามลำดับ เลือก Port ที่จะทำการบูต

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp5.jpg)

เมื่อบูตมาแล้ว ถ้าถูกต้อง ก็จะเข้าขั้นตอนการติดตั้ง ตามในรูป

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp6.jpg)

และก็มาหยุดรอรับคำสั่งจาก Netinstall

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp7.jpg)

หลังจากนั้น เราก็จะเห็นว่าที่ตัวโปรแกรม Netinstall ก็มี device เพิ่มขึ้นมา พร้อมจะติดตั้ง ros ได้

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall3.png)

ก็ติดตั้งปกติครับ
1 เลือก device
2 ทำการ browse package ที่จะติดตั้ง
3 เลือกติดตั้ง all package
4 ก็กดปุ่ม install ได้เลย

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall4.png)

ตัว Netinstall ก็จะทำการติดตั้ง RouterOS ลงบนอุปกรณ์ Network Server ให้

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall5.png)

เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ทำการ Enter ที่ตัว Network Server เพื่อทำการรีบูต  เมื่อบูตเสร็จ ก็จะได้ RouterOS

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/mtnsp8.jpg)

เป็นอันเสร็จเรียบร้อย  สามารถใช้ WinBox remote เข้าไปจัดการได้เลย

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall6.png)

โดยเข้าไปครั้งแรก จะสามารถใช้งานได้ 24 ชม เท่านั้น จะต้องทำการลงทะเบียน หรือ อัพเกรดไลเซ่นก่อน ซึ่งจะอธิบายในตอนต่อไป

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall7.png)

ตัว Resource ของ Network Server ตัว Desktop จะเป็น RAM 1G  SSD4GB  ถ้าตัว Rack จะเป้น RAM 2G SSD 8GB

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/netinstall8.png)

ซึ่งก็เพียงพอสำหรับใช้งาน รองรับ BW สูงๆ ได้สบายๆ
หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการติดตั้ง Mikrotik ลงบน Network Server สำหรับใช้งานในร้าน NetCafe
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2017, 21:47:53
ขั้นตอนการลงทะเบียน เพื่อปรับเป็น license lv1 (demo) สามารถใช้งานได้ ไม่หมดอายุ แต่จะจำกัดการใช้งานบางฟังก์ชั่น

ก่อนอื่นจะต้องไปสมัครสมาชิกกับทางเวป mikrotik ก่อนนะครับ โดยเข้าไปที่เมนู Account แล้วทำตามขั้นตอนเลยครับ

สำหรับที่ตัว WinBox ก็ให้ทำการเลือกเมนู System -> License

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li1.png)

จดค่า Software ID เพื่อที่จะนำไปใช้สร้าง key บนเวป mikrotik

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li2.png)

เข้าไปที่เมนู make a demo key แล้วก็กรอก Software ID ลงไป ทำการกดปุ่ม Generate

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li3.png)

ก็จะได้ license key ออกมา

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li4.png)

ทำการก๊อปปี้ license key โดยการเลือกข้อความแล้วคลิ๊กขวา copy

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li5.png)

กดปุ่ม Paste key ใน WinBox  ถ้า key ถูกต้อง ตัว WinBox ก็จะทำการให้ reboot เพื่ออัพเกรด key ใหม่

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li6.png)

เมื่อทำการบูตเรียบร้อย ก็จะมีข้อความแจ้งว่า key ได้มีการอัพเกรดเรียบร้อยแล้ว

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li7.png)

license ก็จะกลายเป็น lv1 สามารถใช้งานได้โดยไม่หมดอายุ แต่จะจำกัดการใช้งานบางฟังก์ชั่น

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/li8.png)
หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการติดตั้ง Mikrotik ลงบน Network Server สำหรับใช้งานในร้าน NetCafe
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ 01 มีนาคม 2017, 20:28:17
เริ่มต้น config กัน  Step by Step

1. ตั้งชื่อ router
2. ตั้งพาสเวิดให้ router
3. ตั้งชื่อ port และวางแผนการใช้งานในแต่ละ port
4. กำหนด ip lan
5. จัดการเกี่ยวกับ ip service / system package
6. ตั้งค่า dhcp server / ip pool
7. ตั้งค่า dns server
8. เชื่อมต่อ internet pppoe/dhcp/static
9. ตั้งค่า firewall nat masquerade
10. ตั้งค่า default ip route
11. ตั้งค่าเวลา


หลังจากติดตั้ง ROS เรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกเลยที่ต้องทำก็คือ การตั้งชื่อ และ ตั้งพาสเวิร์ด

ตั้งชื่อ ก็ใช้เมนู  System -> Identity

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/2.png)

แล้วก็กำหนดชื่อได้เลย

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/3.png)

สำหรับกำหนด password ก็ใช้เมนู  System -> Password

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/4.png)

สำหรับครั้งแรก user admin จะยังไม่มีพาส ก็ไม่ต้องระบุ old password กำหนด พาสใหม่ได้เลย

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/5.png)

เป็นอันเรียบร้อย

ต่อไปก็จะเป็นการกำหนด Port ของ Network Server ว่า Port ไหนจะใช้งานอะไร ทำหน้าที่เป็นอะไร

ตัวอย่างก็จะเป็น  eth0 เป็น LAN  และ  eth1,eth2,eth3  เป็น WAN1,WAN2,WAN3  ตามลำดับ

*** Network Server จะใช้ ethX เพื่อให้เหมือนกันกับที่ตัวอุปกรณ์ จะได้ไม่งง เวลาใช้งาน ***

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/6.png)

เลือกเมนู Interface ก็จะได้ Interface List ขึ้นมา สามารถดับเบิ้ลคลิ๊ก เปลี่ยนชื่อได้เลย

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/7.png)

ชื่อสามารถตั้งยังไงก็ได้ที่สามารถเข้าใจและสื่อความหมายได้  ก็จะนิยมเป็นชื่อ Port และก็หน้าที่ของมัน เช่น eth0_LAN

ก็คือ Port eth0 ทำหน้าที่เป็น LAN     eth1_WAN1   หมายถึง Port eth1 ทำหน้าที่เป็น WAN1 เป็นต้น

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/8.png)

กำหนดให้ครบ ก็เป็นอันเรียบร้อย

ต่อไปก็เริ่มต้นกำหนด IP LAN ก่อน  โดยใช้เมนู  IP -> Address

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/9.png)

กดปุ่ม + แล้วก็เพิ่มเข้าไป  เช่น ในตัวอย่าง  192.168.88.1/24

*** ปุ่ม + / ปุ่ม - / ปุ่มถูก / ปุ่มกากบาท  และเรื่อง subnet /24  ศึกษาเพิ่มเติมเองนะครับ ***

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/10.png)

ก็จะได้ eth0_LAN  เป็น IP  192.168.88.1/24   หรือ  192.168.88.1  Subnet 255.255.255.0

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/11.png)

เมื่อกำหนด IP LAN แล้ว หลังจากนั้น ก็ให้ทำการกำหนด Service ว่าจะเปิด Service อะไรบ้าง

ไปกำหนดที่เมนู  IP -> Services

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/12.png)

แนะนำว่าปิดให้หมดครับ เปิดแค่ winbox อย่างเดียวก็พอ  ถ้าจะใช้งานก็ค่อยเปิดเพิ่มเอา

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/13.png)

เพราะตอนนี้เราใช้งานแค่ winbox อย่างเดียวก่อน

และก็ไปกำหนด package ว่าจะใช้งานอะไรบ้าง โดยใช้เมนู System -> Packages

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/package.png)

เลือกเฉพาะที่ใช้งานตามรูป อันไหนไม่ใช้ก็ disable ไป  (จะต้องรีบูตรอบนึงถึงจะ disable)

ขั้นตอนต่อไปก็คือ การตั้งค่า  dhcp server    สำหรับการตั้งค่า dhcp server อย่างแรกที่ต้องทำก็คือ

จะต้องกำหนด ip pool ก่อน  ก็คือ ช่วงของ ip ที่จะทำการแจก โดยเข้าไปที่เมนู  IP -> Pool

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/14.png)

ก็ไม่มีอะไรมากครับ กดปุ่ม +  ตั้งชื่อ pool  ว่า dhcp-pool (หรือชื่ออื่นก็ได้)

แล้วก็กำหนด ip แรกและ ip สุดท้ายที่จะทำการแจก  ก็เป็นอันเรียบร้อย

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/15.png)

เมื่อได้ ip pool มาแล้ว ต่อไปก็กำหนด  IP -> DHCP Server

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/16.png)

ตรงแถบ DHCP ก็กด + ครับ สร้าง DHCP Server ขึ้นมา ตั้งชื่อ กำหนด Interface กำหนดเวลา lease time และกำหนด pool   (ตัวอย่างกำหนด lease time เป็น 1 ชม หรือ 01:00:00)

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/17.png)

เสร็จแล้วก็กดปุ่ม ok  

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/19.png)

ต่อไปแถบ Networks   ก็จะต้องกำหนด Network    Gateway และ DNS ที่จะทำการแจก

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/18.png)

เสร็จแล้วก็กดปุ่ม ok

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/20.png)

ก็เป็นอันเรียบร้อย สำหรับ DHCP Server   จะเห็นว่า DNS ที่ทำการแจก จะเป็น 192.168.88.1  เป็นอันดับแรก

หมายถึงว่า เราจะให้ Network Server ทำหน้าที่เป็น DNS ด้วย

ต่อไปก็ทำการ ตั้งค่าให้กับ DNS Server โดยไปที่เมนู  IP -> DNS

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/21.png)

ก็ใข้ท่าไม้ตายไปก่อนครับ  กำหนด IP  8.8.8.8 , 8.8.4.4 , 4.2.2.1 , 4.2.2.2  ไว้ก่อน

และก็อย่าลืมติ๊ก  Allow Remote Requests ด้วย   เสร็จแล้วก็กด ok  เป็นอันเรียบร้อย DNS Server

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/22.png)

ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้ว  ต่อไปก็เริ่มต้น ต่อ Internet ได้
หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการติดตั้ง Mikrotik ลงบน Network Server สำหรับใช้งานในร้าน NetCafe
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ 01 มีนาคม 2017, 21:34:06
ต่อไปการเชื่อมต่อ internet ก็จะมีด้วยกัน 3 แบบใหญ่ ๆ ก็คือ  pppoe/dhcp/static

แบบแรก pppoe ก่อน  เลือกที่เมนู PPP  กดปุ่ม +  แล้วเลือก PPPoE Client

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/23.png)

ส่วนของแถบ General ก็ให้ทำการกำหนดชื่อ ระบุว่าเน็ตค่ายไหน wan ไหน จะได้ไม่งงเวลามีหลายๆเส้น

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/24.png)

ต่อไป แถบ Dial Out ก็ให้ใส่ user/pass ที่ใช้เชื่อมต่อ และก็เอา Add Default Route ออกด้วย (ห้ามลืมนะครับ)

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/25.png)

เสร็จแล้วก็กด Ok

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/26.png)

ถ้ามีหลายเส้น ก็กด + แล้วเพิ่มให้ครบทุกเส้น

ตัวอย่าง pppoe เน็ต 3bb  3 เส้น ก็จะได้ประมาณในรูป

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/31.png)

*** ส่วนวิธีการต่อเน็ตแบบ DHCP และ Static ก็จะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป ***

เมื่อต่อเน็ตครบทุกเส้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ  การทำ default route  และการทำ nat masquerade

เข้าไปที่ IP -> Routes  ก็จะขึ้น Route List ขึ้นมา

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/32.png)

กด + แล้วเพิ่ม Gateway ของทุกเส้นลงไป   Check Gateway  ping  และ Distance เป็น 1

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/33.png)

กดปุ่ม Ok ก็จะได้ Default Route มา เป็น Gateway ของทุก WAN

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/34.png)

ต่อไปก็ทำการ nat masquerade  โดยเข้าไปที่เมนู IP -> firewall   เลือกที่ NAT

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/35.png)

กดปุ่ม + เพื่อเพิ่ม   เลือกแถบ General
เลือกเป็น chain  srcnat   Out. Interface เป็น Interface ของ WAN1 ซึ่งจะเป็น 3bb_link1

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/36.png)

เลือกแถบ Action   ปรับเป็น Action masquerade  เสร็จแล้วกดปุ่ม Ok

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/37.png)

ก็จะได้ nat masquerade ของ 3bb_link1  หรือ interface ของ wan1 มา

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/38.png)

ทำเหมือนกัน เลือก Out. interface เป็นของ wan2 และ wan3 ตามลำดับ

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/39.png)

ก็จะเป็นอันเรียบร้อย

เมื่อทำถึงตรงนี้แล้ว  ถ้าทำถูกต้อง เครื่องลูกในเครือข่าย จะสามารถออกเน็ตได้แล้ว  

ถ้ายังออกไม่ได้ ก็แสดงว่าทำขั้นตอนไหนผิดอยู่  ตรวจสอบก่อน ก่อนจะไปขั้นตอนถัดไป

เมื่อออก internet ได้แล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ตั้งเวลา และก็ ทำ dynamic ip หรือ ddns หรือ noip นั่นแหละ

การตั้งเวลา มี 2 ส่วน  ส่วนแรกคือ การปรับค่า timezone ให้เป็น Asia/Bangkok  GMT+0700

และก็การตั้ง NTP Client เพื่อเทียบเวลากับเวลาสากลบน Internet

ส่วนแรก ก็จะอยู่ใน เมนู  System -> Clock   ก็ตั้งเป็น Asia/Bangkok ให้ถูกต้อง แล้วก็กด Ok

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/time.png)

ส่วนที่สอง อยู่ในเมนู System -> NTP Client   ติ๊ก Enable แล้วเลือก Server เป็น time.windows.com

และ ntp.ubuntu.com  (หรือจะใช้ที่อื่น ก็แล้วแต่ถนัดเลยครับ)  

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/time2.png)

เสร็จแล้วก็กด Ok  เป็นอันเรียบร้อย  ชื่อจะถูกเปลี่ยนให้เป็น ip โดยอัตโนมัติ

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/time3.png)

ต่อไปการทำ noip  ในส่วนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ noip ที่ใช้สำหรับ zmember.net เท่านั้นนะครับ

โดยเข้าไปที่ System -> Schedule  หรือว่า crontab ใน linux นั่นเอง

ทำการ + เพิ่ม job ชื่อ zmember เข้าไป  โดยให้ทำงานทุก 5 นาที

โดยอัพเดท ip ด้วยคำสั่ง

/tool fetch url="http://mars.ipinw.biz/cgi-bin/opendyn.py\?hostname=mytik.zmember.net&password=tiktok" mode=http

โดยชื่อ hostname และ password ก็จะมาจาก user/pass ที่ได้ขอไว้ตอนออกโดเมน zmember.net นั่นเอง

(http://www.hadyaiinternet.com/images/mt/40.png)

หลังจากนี้  ก็จะเป็นเรื่องของ การสร้างกฎ ip -> firewall แล้ว เพื่อบังคับเส้นทางของข้อมูลให้เป็นไปตามที่เราต้องการ