ข่าว: ข่าวประกาศ

  • 18 พฤษภาคม 2024, 15:27:54

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - admin

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 24
16
สินค้าและบริการ / Network Server
« เมื่อ: 02 มีนาคม 2016, 04:57:27 »
พบกับสินค้าใหม่ จากทาง Hadyai Internet







รองรับ Ubuntu, Mikrotik, ClearOs, pfSense, IPFire เป็นต้น

Coming Soon.

17
สินค้าและบริการ / mini PC
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2016, 05:39:23 »


มินิพีซี  เครื่องพีซีขนาดเล็ก  ประสิทธิสูงเทียบเท่า pc ขนาดใหญ่ ประหยัดไฟ ประหยัดพื้นที่

เคลื่อนย้าย พกพา ได้สะดวก ดูทันสมัยน่าใช้งาน รองรับ win7 / win8.1 / win10 และ linux

รุ่น Basic



spec

- cpu intel N3150 (4 core 4 thread) / cpu intel i5-4200Y (2 core 4 thread)
- RAM 1 slot DDR3L-1600 Max 8GB
- 1 x SATA3 6Gbps  HDD/SSD Notebook
- 1 x mSATA 6Gbps  SSD
- 1 x PCIe wifi  b/g/n 300Mbps
- 4 x USB3.0
- 2 x USB2.0
- Aluminium Case ขนาด 160x120x37 mm.
- Power Adapter 12V 3A

ด้านหน้า



มี Power Switch   USB3.0  4 Port   USB2.0  2 Port

ด้านหลัง  มีให้เลือก 2 แบบ

แบบแรก



มีเสาสองต้น  Speaker / Mic / LAN / HDMI / VGA / DC-IN

แบบที่สอง



มีเสาสองต้น  Speaker / Mic / LAN / LAN / HDMI / HDMI / DC-IN

ตัวเคสจะเป็นอลูมิเนียม สำหรับระบายความร้อน และมีฐานสำหรับวางในแนวตั้งได้ เพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น



รุ่น Basic เป็นรุ่นพื้นฐานสำหรับ PC ซึ่งมีมาให้ครบแล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็น Celeron N3150 Gen5

หรือเป็น Core i5 4200Y ในราคาที่คุ้มค่า


ต่อไปเป็นรุ่น Pro ซึ่งจะเป็นรุ่นที่สเปคสูงขึ้น สามารถอัพเกรดได้มากขึ้น



spec

-  i5 4258U, i5 5200U, i5 5250U, i5 5257U , i7 5650U
- RAM 2 slot DDR3L-1600 Max 16GB
- 1 x SATA3 6Gbps  HDD/SSD Notebook
- 2 x mSATA 6Gbps  SSD
- 1 x PCIe wifi  b/g/n 300Mbps
- 4 x USB3.0
- 4 x USB2.0
- Aluminium Case ขนาด 210x170x45 mm.
- Power Adapter 12V 5A

ด้านหน้า



ประกอบด้วย Power Switch / USB3.0 4 Port / SD Card / Optical / Speaker / MIC

ด้านหลัง



ประกอบด้วย USB2.0  4 Port / LAN / LAN / HDMI / HDMI / DC-IN

ส่วนตัวบอร์ด ก็จะมีขนาดใหญ่ รองรับการอัพเกรดได้มากขึ้น

มี cpu ให้เลือกหลายแบบ ตามความต้องการ

19
สินค้าและบริการ / mini server/pc
« เมื่อ: 31 มกราคม 2016, 18:32:17 »
รุ่น Celeron

[youtube]DNV68ko7rtI[/youtube]

รุ่น Core i5

[youtube]H87pnLZ4bQ0[/youtube]

ทดสอบเล่นเกมส์  รุ่น  i5 5257U

[youtube]JE_jdpfeb70[/youtube]

Coming Soon...

20
ขั้นตอนการติดตั้ง

- ทำการติดตั้ง package ที่ต้องใช้งาน
#apt-get install xtables-addons-common libtext-csv-xs-perl unzip

- สร้าง folder สำหรับเก็บฐานข้อมูล
#mkdir /usr/share/xt_geoip

- ทำการ download ฐานข้อมูลล่าสุด
#/usr/lib/xtables-addons/xt_geoip_dl

- ทำการแปลงฐานข้อมูล
#/usr/lib/xtables-addons/xt_geoip_build -D /usr/share/xt_geoip *.csv

เป็นอันเรียบร้อย

สามารถทดสอบได้โดย

#iptables -m geoip --help

ถ้าไม่มี error ก็แสดงว่าสำเร็จ

-สำหรับการ mark ก็ใช้เป็น

#iptables -A PREROUTING -t mangle -m geoip --dst-cc TH -j domestic-route
#iptables -A PREROUTING -t mangle -m geoip ! --dst-cc TH -j international-route

เป็นต้น

21
บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด

บัตรประจำตัวประชาชน คือเอกสารที่ทางราชการออกให้กับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฏหมายกำหนด (พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526) เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคลกับเจ้าหนาที่ของรัฐหรือบุคคลที่จะมีส่วนได้เสียในการทำนิติกรรมสัญญาต่างๆ ประเทศไทยของเราเริ่มมีการนำบัตรประจำตัวประชาชนมาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2486 โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บัตรประชาชนมีการพัฒนารูปแบบมาตามยุคสมัยโดยลำดับ กระทั่งในปัจจุบันประเทศของเราได้มีนำเอาเทคโนโลยีสมาร์ทการ์ดมาใช้กับบัตรประชาชน เช่นเดียวกับในอีกหลายๆ ประเทศ ด้วยเหตุผลในด้านการป้องกันการถูกปลอมแปลง และความง่ายในกระบวนตรวจสอบความจริงแท้ของบัตร
สมาร์ทการ์ดคืออะไร

บัตรสมาร์ทการ์ดคือบัตรพลาสติกที่มีขนาดมาตรฐานตามข้อกำหนด ISO-7810 (ขนาดของบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม) และมีชิพอีเล็กทรอนิกส์ฝังอยู่บนตัวบัตร โดยชิพนี้จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและจัดการเรื่องกลไกด้านความปลอดภัยของข้อมูล คุณลักษณะทางกายภาพและทางไฟฟ้าของชิพที่เป็นไปตามข้อกำหนด ISO-7816 บัตรประชาชนของเราใช้สมาร์ทการ์ดแบบชนิดมีหน้าสัมผัส (Contact Smartcard) ชิพเป็นแบบมีหน่วยประมวลผลขนาด 8 บิท มีหน่วยความจำชนิด EEPROM ขนาด 32-64KB ทำงานบนระบบปฏิบัตรการ Java Card OS มีแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งอยู่บนบัตร (Java Applet) อยู่ประมาณ 6 แอพพลิเคชั่น แต่ละแอพพลิเคชั่นจะเป็นของแต่ละหน่วยงานรัฐคือกรมการปกครอง, สป.สช., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, องค์การทหารผ่านศึกและกระทรวงกลาโหม
thaiid

นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดมีการปรับเปลี่ยนมาแล้ว 3 เวอร์ชั่น มีการปรับเปลี่ยนผู้ผลิตชิพมาแล้วหลายราย ชิพรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลกว่ารุ่นก่อนบ้างเนื่องจากประสิทธิภาพสูงกว่า โดยอนาคตชิพคงมีราคาลดลงไปอีก แต่คุณภาพจะสุงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านความจุข้อมูลและความเร็วในการประมวลผล

    บัตรออกเมื่อปี 2547 จำนวน 1 หมื่นใบให้กับบุคคลที่ไปร่วมในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ
    บัตรออกเมื่อปี 2549 จำนวน 10 ล้านใบให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเขตกรุงเทพปริมณฑล
    บัตรออกเมื่อปี 2551 จำนวนมากว่า 30 ล้านใบ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าบัตรและโครงสร้างข้อมูลภายในชิพ

ข้อมูลที่เก็บอยู่ในชิพสมาร์ทการ์ด

เนื่องจากสมาร์ทการ์ดสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก เมื่อเทียบกับบัตรชนิดอื่นๆ โดยในบัตรประชาชนของเราจะมีข้อมูลของหน่วยงานถึง 6 หน่วยงานด้วยกัน แต่โดยส่วนใหญ่ขอ้มูลเหล่านั้นจะถูกใช้กันภายในหน่วยราชการเท่านั้นเพราะเป็นข้อมูลชนิดปกปิด แต่ก็มีข้อมูลรายละเอียดของผู้ถือบัตรซึ่งพิมพ์อยู่บนหน้าบัตร ซึ่งจัดเก็บอยู่ในแอพเพลตของกรมการปกครองส่วนที่เป็น public sector ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดไว้ให้สามารถอ่านออกไปใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ Authentication ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางข้างล่าง โดยในปัจจุบันมีภาคเอกชนได้เริ่มเข้ามาใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากบัตรประชาชนมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เครื่องอ่านมีราคาไม่แพง
ลำดับ    รายละเอียดข้อมูล    ชนิด    ขนาด
1    เวอร์ชั่น    N    4
2    เลขประจำตัวประชาชน    N    13
3    ชื่อภาษาไทย    C    100
4    ชื่อภาษาอังกฤษ    C    100
5    วันเดือนปีเกิด    N    8
6    เพศ    N    1
7    ที่อยู่    C    160
8    สถานที่ออกบัตร    C    100
9    วันที่ออกบัตร    N    8
10    วันหมดอายุ    N    8
11    รูปถ่าย    B    5120


อ้างอิง : http://www.idpassglobal.com/knowledge/national-id

https://freeshell.de/~jirawat/blog/?p=69

https://github.com/chakphanu/ThaiNationalIDCard

22
Network / Power Over Ethernet
« เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2015, 01:03:31 »

23
Linux Server System / httpry - HTTP logging and information retrieval tool
« เมื่อ: 14 ตุลาคม 2015, 23:27:36 »
เก็บ http url log


24
คุยกับทีมวิจัย / คำถามที่ถามบ่อย
« เมื่อ: 01 ตุลาคม 2015, 00:36:34 »
Q. SmartRouter Z มันคือ อะไร

A. เป็น mini computer ที่ใช้ Single Chip ที่ทำหน้าที่เป็น Router ติดตั้ง OS เป็น Ubuntu

Q. สเปคของอุปกรณ์ มีอะไรบ้าง

A. รายละเอียดของสเปค

- CPU Arm Dual Core 1GHz
- RAM 1GHz
- micro SD Card ขนาด 16GB (สามารถขยายได้สูงสุด 64GB)
- มี Port สามารถเชื่อมต่อ HDD ได้ (แนะนำเป็น SSD)
- มี Port HDMI สามารถต่อออกจอภาพได้ / Port USB ต่อ keyboard สำหรับ config
- มี Port Gigabit Ethernet 5 Port
- มี Wireless 802.11n  ความเร็วสูงสุด 300Mbps

กินไฟประมาณ 10-15Watt  รองรับการทำงาน 24x7

Q. ซื้อมาแล้ว config ไม่เป็น หรือ config ไปแล้วแต่ทำงานไม่ราบรื่น จะทำอย่างไรได้บ้าง

A. แนะนำซื้อเป็นชุด MultiWAN ราคาดังกล่าว รวมค่า config และ remote ตรวจเช็คตลอดระยะเวลาประกันแล้วครับ

Q. ระบบแยกเน็ตแยกเกมส์ ถ้ามีเกมส์ใหม่มา มันจะอัพอัตโนมัติไหม ถ้าหมดประกันแล้วจะยังอัพสคริปได้ไหม

A. สคริปใหม่ ๆ สามารถอัพได้ตลอดครับ ถึงแม้จะหมดประกันไปแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

Q. ถ้าหมดประกันไปแล้ว อุปกรณ์เกิดเสีย จะทำอย่างไร

A. สามารถสั่งซื้อเฉพาะชิ้นที่เสียได้ครับ ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ทั้งหมด

Q. ไฟดับ ไฟตก หรือกด reset บ่อย ๆ จะทำให้ข้อมูลเสียไหม

A. ถ้าไม่รุนแรงก็ไม่เสียครับ เนื่องจากข้อมูลเก็บใส่ micro sd โอกาสเสียจะน้อยกว่า เก็บใส่ hdd ที่มีหัวอ่าน

แต่ก็ควรต่อผ่านเครื่องสำรองไฟ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และควรสำรองข้อมูลเก็บใส่ micro sd ไว้อีกอันเพื่อความปลอดภัย

Q. รองรับการต่อเน็ตแบบไหนได้บ้าง รองรับ ipv6 แล้วหรือยัง

A. รองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกแบบ ทุก ISP ที่มีในประเทศไทยครับ  สำหรับ ipv6 ตัว ubuntu รองรับอยู่แล้วครับ

Q. รองรับการใช้งานได้กี่เครื่อง และมีข้อจำกัดอะไรบ้างไหม

A. รองรับการทำงานประมาณ 70-80 เครื่อง ข้อจำกัดคือ b/w ของ internet รวมกันไม่เกิน 200Mbps

Q. มีระบบ user/pass แบบ hotspot หรือยัง

A. ตอนนี้ยังครับ แต่อนาคตมีแน่นอนครับ อยู่ระหว่างการพัฒนา สามารถอัพสคริปได้ฟรี

Q. รองรับระบบ Single Gateway หรือยัง

A. เอ่อ อันนี้ถามเอาขำใช่ไหม  อิอิ   ;D ;D ;D

25
สินค้าและบริการ / SmartRouterZ
« เมื่อ: 29 กันยายน 2015, 17:38:32 »

มาแล้วครับ อีกขั้นของการพัฒนาจากทีมงานหาดใหญ่อินเตอร์เน็ต

SmartRouter Z ที่จะทำให้ระบบ MultiWAN และ QoS ง่ายขึ้น

Router มีที่ระบบปฏิบัติการ Ubuntu เป็นตัวขับเคลื่อน สามารถ

ใช้งาน sysmon , webif หรือ putty ได้เหมือน SmartCafe Z


ในชุดประกอบไปด้วย
- RouterBoard
- อะคริลิคเคส (สีส้ม  สีน้ำเงินใส  หรือสีดำ)
- อุปกรณ์ระบายความร้อน (Heatsink พร้อมพัดลม)
- เสา wireless ขนาด 5dbi  (หรือแบบเสาภายใน)
- power supply ขนาด 15Watt (5V 3A)
- micro SD ขนาด 16G (พร้อมตัวแปลงแบบ USB)

ตัวอุปกรณ์รับประกัน 1 ปีเต็ม (พิเศษสำหรับลูกค้า zmember รับประกันตลอดอายุการเป็นสมาชิก)

ชุดสำหรับนักพัฒนา ราคา 4,700.-
ชุด MultiWAN พร้อม Dynamic QoS ราคา 7,400.-

พิเศษ
สำหรับ ชุด MultiWAN พร้อม Dynamic QoS ราคา 7,400.-
โปรโมชั่น เหลือ 6,900 บาท วันนี้ถึง 30 พฤศจิกายน 2558  
พิเศษ ซื้อภายในเดือนนี้แถมฟรี Micro sd Sandisk ขนาด 16G ฟรีอีก อีก 1 อัน มูลค่า 200 บาท


สำหรับตัวแทน ลูกค้าเก่า และสั่งซื้อหลายชุด
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณป้อ 0849695561
















26
คุยกับทีมวิจัย / Wireless Access Point
« เมื่อ: 06 สิงหาคม 2015, 19:26:40 »

หาข้อมูลเกี่ยวกับ Access Point กันหน่อย

รื้อฟื้นความจำกันก่อน  wireless เมื่อก่อนจะมีมาตรฐาน  802.11b  ความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps

และก็มีการพัฒนามาเป็น 802.11g  ความเร็วสูงสุดที่ 54Mbps  ซึ่งทั้งสองแบบใช้คลื่นความถี่  2.4GHz

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมมาเป็น 802.11n  ซึ่งความเร็วสูงสุดได้ไปถึง 600Mbps  และมี 802.11a , 802.11ac

ที่มาใหม่ เป็นคลื่น 5GHz ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 5GHz ได้ โดยจำกัดกำลังส่งไว้ดังนี้



ทำไมถึงแตกต่างกัน?

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจ ในเรื่องของความถี่กันก่อน 2.4GHz กับ 5GHz แตกต่างกันอย่างไร

แน่นอน ตัวเลขต่างกัน 2.4GHz เป็นคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า

ข้อดี

- ใช้กำลังส่งน้อยกว่า
- ผ่านสิ่งกีดขวางได้ดีกว่า
- เป็นที่นิยมมากกว่า ราคาอุปกรณ์เลยจะถูกกว่า

ข้อเสีย

- ช่องสัญญาณมีน้อย  โอการที่ช่องสัญญาณจะถูกรบกวนมีได้มากกว่า  และทำความเร็วได้น้อยกว่า

ส่วน 5GHz ก็นำมาใช้แก้ปัญหาของ 2.4GHz

ข้อดี

- ช่องสัญญาณมีเยอะ โอกาสถูกรบกวนน้อย และสามารถทำความเร็วได้สูง

ข้อเสีย ก็ตรงกันข้ามกับ 2.4

- ใช้กำลังส่งที่สูงกว่า ในระยะทางที่เท่ากัน
- ผ่านสิ่งกีดขวางได้น้อย เพราะเป็นคลื่นความถี่สูง
- ราคาอุปกรณ์แพงกว่า 2.4

ปัจจุบันก็มีมาตรฐาน 802.11ac ออกมา ซึ่งเป็นการรวม ทั้ง 2 คลื่น นำมาใช้ร่วมกัน

แต่ด้วยคุณสมบัติ ของแต่ละคลื่นความถี่ ก็ต้องนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับ พื่นที่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ต่อไปก็มาดูกันเรื่องของความเร็ว ตัวแปรของความเร็วก็จะขึ้นอยู่กับ ช่องสัญญาณ และก็เทคนิคในการรับส่งคลื่น


ความถี่ 2.4GHz  ซึ่งก็คือตั้งแต่ 2400MHz - 2500MHz สามารถแบ่งเป็นช่องสัญญาณ ช่องละ 20MHz ได้ออกมาเป็น

11 channel  (แบ่งยังไงถึงได้ 11 จริงๆมันควรจะได้แค่ 5 ซิ  100MHz/20MHz) ใช่ครับ ที่ได้ 11 เพราะว่ามันมีส่วน

ที่ overlap หรือว่าซ้อนกันอยู่  ดังนั้น channel ที่ติดๆกันจะมีการซ้อนกันอยู่  การตั้ง channel  ไม่ให้สัญญาณกวนกัน

ก็ต้องตั้งห่างกัน



ต่อไปเรื่องของความเร็ว  1 ช่องสัญญาณ  20MHz  ความถี่ 2.4GHz  จะทำความเร็วสูงสุดได้ 65Mbps  แต่ก็มีเทคโนโลยี

ต่าง ๆ ของอุปกรณ์เข้ามาช่วย เช่น Short GI  ก็จะทำความเร็วสูงสุดได้เป็น 72.2Mbps  เทคโนโลยี MIMO (แบบหลายๆเสา)

รวมไปถึงการขยายช่องสัญญาณเป็น 40MHz     สำหรับเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ นั้น ตัวรับและตัวส่ง จะต้องรองรับด้วย ถึงจะ

สามารถใช้งานได้



ความถี่ 5GHz  ก็คือตั้งแต่  5000MHz - 6000MHz  แบ่งช่องสัญญาณ ช่องละ 20MHz  ได้ออกมาเป็น 200 channel

(1000MHz/20MHz  ก็ควรจะได้ 50 ซิ) ใช่ครับ มันก็มีส่วน overlap กันอยู่ แต่ก็มีตั้ง 200 ช่อง ก็คงจะชนกันยาก ถึงจะ

มีช่องสัญญาณเยอะก็จริง แต่ก็มีการกำหนดการใช้งาน เพื่อไม่ให้มีปัญหา ซึ่งก็ขึ้นอยู่แต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย



5GHz (Band A)  ได้แก่ channel  36-64 โดยห่างกัน 4 ช่อง คือ 36,40,44,48,52,56,60,64

5GHz (Band B)  ได้แก่ channel 100-140 ห่างกัน 4 ช่อง คือ 100,104,108,...,132,136,140

5GHz (Band C)  ได้แก่ channel 149-165 ได้แก่ 149,153,157,161,165

ฺสำหรับ Band A ใช้สำหรับ Indoor  และ  Band B,C ใช้สำหรับ Indoor/Outdoor

เป็นต้น

สำหรับ 5GHz  ที่ช่องสัญญาณ 20MHz  ทำความเร็วสูงสุดได้ 97.5Mbps  ก็จะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยเพิ่มความเร็ว

เช่น การขยายช่องสัญญาณไปถึง 160MHz และก็ Short GI สามารถ ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 1300Mbps

การขยายช่องสัญญาณก็จะได้ความเร็วที่สูงขึ้น แต่ก็มีโอกาสถูกรบกวนได้มากขึ้นเช่นกัน

สำหรับมาตรฐานใหม่  802.11ac  ก็คือการใช้คลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz รวมกัน ซึ่งก็สามารถทำความเร็วได้ถึง 3.2Gbps

โดยการใช้ Tri-Band คือ 2.4GHz + 5GHz Band A + 5GHz Band B

คำถามทิ้งท้าย  ถ้าเราใช้คลื่น 5G กันแล้วจะมีปัญหาไหม เวลามือถือ 5G นำมาใช้งานกัน ตอนนี้ก็เป็น 4G อยู่ (ถามขำๆ)

ตอบ : คลื่นความถี่ 5GHz  ก็คือความถี่  ส่วนโทรศัพท์  5G  ย่อมาจาก  Generation   5G ก็คือ Generation ที่ 5

คนละอันกันครับไม่เกี่ยวข้องกัน  คลื่นความถี่ของมือถือก็จะเป็น  850MHz  900MHz  1800MHz  2100MHz  ประมาณนี้

** มือถือจะใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำ  กำลังส่งไม่มาก ก็สามารถส่งได้ไกลหลายกิโล ผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี **


อ้างอิง  :  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/009/34.PDF



27


ก่อนอื่น ก็ต้องมาดูรายละเอียดด้าน H/W กันก่อน

CPU      - A20 ARM Cortex™-A7 Dual-Core
Memory - SDRAM 1GB DDR3
Storage - Micro SD (Max. 64GB) card slot UP to 2T on 2.5 SATA disk
Network - 10/100/1000 Ethernet RJ45, WLAN @802.11b/g/n

รายละเอียดเพิ่มเติม : bananapi

ทำไมต้องเป็น banana pi R1



เนื่องจากบอร์ดตัวนี้ออกแบบมาสำหรับเป็น router โดยเฉพาะ มี LAN Gigabit มาให้ถึง 5 port แตกต่างจากบอร์ดตัวอื่นๆ

ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแค่ 1 port  มีช่องต่อ HDMI สำหรับต่อ Monitor และ USB สำหรับต่อ Keyboard ทำให้สะดวกมากขึ้น

ส่วนด้านหน้าก็จะปุ่ม power และ ปุ่ม reset ให้ด้วย



อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่

- micro SD Card อย่างน้อย 2GB ขึ้นไป
- อะแดปเตอร์ ขนาด 5V DC 2A และสายต่อแบบ micro USB
- กล่อง case สำหรับใส่บอร์ด
- สายต่อ HDMI  หรือถ้าไม่มีจอที่มี HDMI ก็ต้องใช้ตัวแปลง HDMI->DVI หรือ HDMI->VGA
- เสาขยายสัญญาณ wifi ขนาด 5dBi
- HDD หรือ SSD ขนาด 2.5" ถ้าหากต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น

ในการติดตั้ง OS ลงไป ก็ทำการเขียน Image File ลง micro sd card แล้วก็นำไปใส่ในบอร์ด ก็เป็นอันเรียบร้อย



ขนาด Image ไฟล์จะมีขนาดประมาณ 200MB-1.2GB  มีให้เลือกตั้งแต่ android , openwrt , raspbian , bananian,
debian , ubuntu , arch linux , opensuse , fedora เป็นต้น

ในการทดสอบครั้งนี้ จะใช้ ubuntu 14.04 LTS ที่อัพเกรด kernel 4.1.2 ในการทดสอบ


28
Linux Server System / สร้าง ubuntu accesspoint ด้วย hostapd
« เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2015, 18:26:45 »
ตัวอย่าง config    hostapd.conf  บน  bpi-r1

http://bogeskov.dk/UsbAccessPoint.html

sudo apt-get install linux-headers-...
git clone https://github.com/dz0ny/rt8192cu.git
cd rt8192cu
make
sudo make install

Avoid the supplied driver by blacklisting it in (new file) /etc/modprobe.d/8192cu.conf:

blacklist rtl8192cu

unzip RTL8192xC_USB_linux_*.zip
tar zxvf RTL8188C_8192C_USB_linux_*/wpa_supplicant_hostapd/wpa_supplicant_hostapd-0.8_rtw_*.tar.gz
cd wpa_supplicant_hostapd-0.8_*/hostapd/
make
sudo cp hostapd hostapd_cli /usr/sbin/



config:

ssid=MyAccessPoint
wpa_passphrase=MySecretPassword

ctrl_interface=/var/run/hostapd
interface=@INTERFACE@
bridge=br0
driver=rtl871xdrv
hw_mode=g
channel=6
wpa=2

beacon_int=100
hw_mode=g
ieee80211n=1
wme_enabled=1
ht_capab=[SHORT-GI-20][SHORT-GI-40][HT40+]
wpa_key_mgmt=WPA-PSK
wpa_pairwise=CCMP
max_num_sta=8
wpa_group_rekey=86400

29
Linux Server System / swconfig บน BPI-R1
« เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2015, 05:12:35 »


ตัวอย่างไฟล์  /etc/network/interfaces

auto lo
iface lo inet loopback

auto eth0
iface eth0 inet manual
    pre-up swconfig dev eth0 set reset 1
    pre-up swconfig dev eth0 set enable_vlan 1
    pre-up swconfig dev eth0 vlan 201 set ports '3 8t'  #LAN0
    pre-up swconfig dev eth0 vlan 101 set ports '2 8t'  #WAN1
    pre-up swconfig dev eth0 vlan 102 set ports '1 8t'  #WAN2
    pre-up swconfig dev eth0 vlan 103 set ports '0 8t'  #WAN3
    pre-up swconfig dev eth0 vlan 104 set ports '4 8t'  #WAN4
    pre-up swconfig dev eth0 set apply 1

#LAN0
auto eth0.201
iface eth0.201 inet static
    pre-up ifconfig eth0.201 hw ether 02:96:07:c1:62:01
    address 192.168.200.1
    netmask 255.255.255.0

#WAN1
auto eth0.101
iface eth0.101 inet manual
    pre-up ifconfig eth0.101 hw ether 02:96:07:c1:61:01

#WAN2
auto eth0.102
iface eth0.102 inet manual
    pre-up ifconfig eth0.102 hw ether 02:96:07:c1:61:02

#WAN3
auto eth0.103
iface eth0.103 inet manual
    pre-up ifconfig eth0.103 hw ether 02:96:07:c1:61:03

#WAN4
auto eth0.104
iface eth0.104 inet manual
    pre-up ifconfig eth0.104 hw ether 02:96:07:c1:61:04

#WIFI
allow-hotplug wlan0
auto wlan0
iface wlan0 inet static
    address 10.0.0.1
    netmask 255.255.255.0

วิธีตรวจสอบการเชื่อมต่อแต่ละ port

# ./ethlink.sh
WAN1 link:up speed:1000baseT full-duplex auto
WAN2 link:down
WAN3 link:down
WAN4 link:down
LAN0 link:up speed:1000baseT full-duplex auto
#

โค๊ด: [Select]
#!/bin/bash

WAN1=$(swconfig dev eth0 port 2 get link | cut -c8-)
WAN2=$(swconfig dev eth0 port 1 get link | cut -c8-)
WAN3=$(swconfig dev eth0 port 0 get link | cut -c8-)
WAN4=$(swconfig dev eth0 port 4 get link | cut -c8-)
LAN0=$(swconfig dev eth0 port 3 get link | cut -c8-)

echo WAN1 $WAN1
echo WAN2 $WAN2
echo WAN3 $WAN3
echo WAN4 $WAN4
echo LAN0 $LAN0

30
คุยกับทีมวิจัย / ระบบ NAS บน SmartCafe Z
« เมื่อ: 11 มิถุนายน 2015, 08:21:12 »
[youtube]Z8jhGI32vWE[/youtube]

ตัวอย่าง ระบบ NAS หรือว่า เป็น drive สำหรับ ลูกค้า ไว้เก็บข้อมูล

โดยลูกค้าก็สามารถมาสมัครสมาชิก แล้วทางร้านก็สร้าง user/pass พร้อมกับกำหนดพื้นที่ (ผ่าน webif)

แล้วในเครื่องลูกก็จะมีโปรแกรม ในนี้ยังเป็น script แบบง่าย ๆ อยู่  ลูกค้าก็สามารถ login เข้าระบบ NAS

และก็จะมี drive ส่วนตัวมาไว้สำหรับเก็บข้อมูล  สามารถย้ายไปเล่นเครื่องไหนก็ได้  ข้อมูลก็จะไม่หาย

จะเก็บข้อมูลเซฟเกมส์  ข้อมูลหนัง  เกมส์เถื่อนที่ชอบโหลดมาเล่นบ่อยๆ หรือเอกสาร พิมพ์งานต่าง ๆ

เป็นต้น  เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 24